วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์วรรณกรรม เรื่องพระลักพระลาม

วิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องพระลักพระลาม
                เรื่องพระลักพระรามนี้แพร่หลายน้อยกว่าวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานอื่นๆ  แต่เป็นเรื่องที่มีลักษณะโดดเด่นหลายประการ  จึงหยิบยกมาเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ครั้งนี้  คือพบต้นฉบับในภาคอีสานมีอยู่  ๒  สำนวน  คือสำนวนที่เป็นร้อยแก้วและสำนวนที่ประพันธ์เป็นโครงสาร  ฉบับสำนวนร้อยแก้วนั้นมีความยาวมาก  และเนื้อเรื่องถูกปรับปรุงให้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นบริเวณลุ่มน้ำโขง  อธิบายเชิงตำนานเกี่ยวกับสถานที่  ชื่อบ้านนามเมืองแถบแม่น้ำโขง  คือภาคอีสานและล้านช้าง  นอกจากนี้ยังดำเนินเรื่องตามแนวของชาดกและกล่าวว่าพระลามคือพระโพธิสัตว์ชาติหนึ่ง  ที่ต้องมาเกิดใช้หนี้และปราบปรามอธรรม
                ส่วนฉบับสำนวนโครงสารที่จะนำมาวิเคราะห์  มีการปรับปรุงเนื้อเรื่องให้ต่างไปจากรามเกียรติ์  ฉบับภาคกลางอย่างมาก  และมีแนวโน้มจะใกล้เคียงกับเรื่อง “พรหมจักร” (รามเกียรติ์ฉบับภาคเหนือ)  แต่ชื่อบ้านชื่อเมืองก็ปรับให้เข้ากับดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง  เช่น  พระลามครองเมืองศรีสัตนาถ  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังพบว่าในภาคอีสานยังมีวรรณกรรมพื้นบ้านที่มีเนื้อเรื่องคล้ายคลึงกับพระลักพระลามอีก  คือเรื่องหัวละมาน  (หนุมาน)  และเรื่องพระกึดพระพาน  (เนื้อเรื่องตอนต้นเป็นเรื่อง  อุณรุท  ตอนปลายเป็นเรื่องรามเกียรติ์)  แต่ส่วนที่เป็นโครงเรื่องย่อยนั้นแตกต่างกันมาก  แสดงให้เห็นความอิสระของกวีพื้นบ้านอีสานที่ปรับปรุงแก้ไขเนื้อเรื่องเดิม  (รามยณะ  ฉบับอินเดีย) ให้เข้ากับทัศนะและภูมิสถานของชาวอีสาน
                หากพิจารณาเรื่องรามเกียรติ์ฉบับภาคเหนือ  พบว่ามีการปรับเปลี่ยนเรื่องรามเกียรติ์มาเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือเช่นเดียวกัน  นั้นคือภาคเหนือมีเรื่องคล้ายๆ กันอยู่ ๓ เรื่อง  คือ  เรื่องพราหมจักร (พรหมจักร –  พระราม, พระยาวิโรหาราช ทศกัณฐ์ )  เรื่องหอรมานชาดก   (พระราม พระราม ราพณาสูร  ทศกัณฐ์ )  และเรื่องอุสาบารส  วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือทั้งสามเรื่องข้างต้นนี้  ประพันธ์เป็นแนวชาดกทั้งสิ้น  ซึ่งเมื่อเทียมกับวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานทั้งสามเรื่องดังกล่าว  พบว่าประพันธ์เป็นแนวชาดกเรื่องพระลักพระลาม  ฉบับสำนวนร้อยแก้ว  ส่วนพระลักพระลามฉบับสำนวนโคลงสารกล่าวว่าพระโพธิสัตว์มาเกิดใช้ชาติเป็นพระลาม  แต่มิได้ดำเนินเรื่องตามแนวชาดกอย่างเคร่งครัดนัก  ส่วนเรื่องหัวละมาน  ก็เช่นเดียวกัน  แต่เรื่องพระกึดพระพาน  (พระกฤษณ  พระพาน)  ดำเนินเรื่องตามแนวชาดก
                อีกประการหนึ่งเรื่องพระลักพระลามฉบับโครงสารนี้  มีโครงเรื่องย่อยต่างไปจากเรื่องรามเกียรติ์มาก  และสำนวนโวหารเด่นมาก  จึงได้นำมาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นการปรับปรุงวรรณกรรณของกวีพื้นบ้านและเห็นการแพร่กระจายของเรื่องรามายณะในท้องถิ่นต่างๆ  ของไทยอีกด้วย
                ต้นฉบับ  พระอริยานุวัตร  (อารีย์  เขมจารี)  วัดมหาชัย  อ.เมือง  จ.มหาสารคาม  ได้ถอดจากต้นฉบับใบลานอักษรไทยน้อย  มูลนิธิเสถียรโกเศศ นาคะประทีป  จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ  พ.. ๒๕๑๘ ความยาว ๑๓๓  หน้า  ตามคำนำกล่าวว่าได้ต้นฉบับมาจากวัดเหนือ  อ.เมือง  จ.สกลนคร
                ไม่ปรากฏผู้ประพันธ์  แต่พบเนื้อความเริ่มต้นบอกความในใจของผู้ประพันธ์  ดังนี้
0  อ้ายนี้       หากอุณโหร้อน                                    ในทรวงแค้นคลั่ง  เจ้าคำเอย
จึงได้             แรงกล่าวเว้า                                         ประเหียนก้อยกิ่งเดียว
พอให้           สว่างร้อน                                              ในแห่งหือระทัย  พี่แม
                       พอให้หาย                                             สว่างใจปาบน้ำ
บ่กว่า             ปัญญาแม้ง                                            สิหลิงเห็นตรัสส่อง  เอาท่อน
ไว้แก่             สาวพี่น้อง                                             คนิงรู้ทุกคน
อ้ายนี้            บ่แม่นชายถ้าน                                     ในชลแคมท่า
ต่างหากแม่นชาย  คำซาวหล่อเลี้ยง                       ในบ้ายอดคำ
(ความว่า กวีเร้าร้อนในอก  จึงได้เล่าเรื่องเก่าเล็กน้อย  เพื่อให้คลายความรำคาญใจ  ใจเย็นปานน้ำไม่เหลือปัญญาหากปรารถนาจะเห็น  (ธรรม)  เพื่อให้สาวพี่น้องทุกคน  (ได้อ่าน)  พี่นี้ไม่ใช่ชายเสเพล (ริมท่าน้ำ)  หากเป็นชายทองค่ายี่สิบในเพศสมณะ (หล่อเลี้ยงในเบ้ายอดคำ)
                หากพิจารณาโครงเรื่องพระลักพระลามฉบับอีสานกับรามเกียรติฉบับอื่นๆ  ของภาคอื่นๆ  จะพบว่าโครงเรื่องพระลักพระลามจะใกล้เคียงกับเรื่อง พรหมจักร”  (รามเกียรติฉบับภาคเหนือ)  มากที่สุด  เพียงแต่ชื่อตัวละครแตกต่างกัน  เช่น  ฉบับภาคเหนือเรียก  พระรามว่า - พรหมจักร    พระลักษณ์ว่า - รัมมจักร   ทศกัณฐ์
มหากาพย์รามายณะเดินทางมาจากอินเดียข้ามาในดินแดนในเอชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้ประเทศต่างๆไม่ ว่าจะเป็นมาเลซีย อินโดนีซีย พม่า ไทย ลาว ขมร ล้วนมีนิทานและวรรณกรรม การแสดงที่ดัดแปลงมาจากมหากาพย์รามายณะ ทั้งสิ้น วัฒนธรรมอินเดียย่อมมีความแตกต่างกับวัฒนธรรมในภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงใต้ วรรณกรรมที่มาจากวัฒนธรรม อินเดียจึงย่อมต้องการปรับเปลี่ยนให้ข้ากับวัฒนธรรมความชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นในภูมิภาคนี้ (ศิราพรณถลาง,2552)
พระลักพระลามสำนวนที่อ่านและรู้จักแพร่หลายในหมู่ชาวอีสานเนื้อรื่องส่วนใหญ่คล้ายรามเกียรติ์ฉบับภาษาไทยกลาย มีต่างกันบ้างในรื่องชื่อตัวละครและภูมิศาสตร์ในท้องรื่องช่นพระลักพระลามเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีสัตตนาคนหุตส่วนชื่อ ตัวละครที่เปลี่ยนแปลงไปได้แก่หนุมาเป็หุลละมาทศกัณฑ์เป็พญาฮาบมะนาสวนทรพีเป็ทัวระพีสุครีเป็สังคีบ พาลีเป็นพะลีจันทน์(จารุวรรณธรรมวัตร,2522) พระลักพระลามสำนวนอีสานเป็นรื่องที่มีความยาวเป็นอย่างมากแต่ว่าผู้ปริวัตรได้จัดเหตุการณ์สำคัญของรื่องเป็นตอนเพื่อให้เห็นการดำเนินรื่องระหว่างเหตุการณ์อย่างชัดจนโครงรื่องสำคัญมีน้อย แต่ว่าเหตุที่ทำให้พระลักพระลามสำนวนลาวมีความยาวนั้น เพราะว่าผู้แต่งรจนาแบบบรรยาย โดยได้อธิบายอย่างกว้างขวาง ถึง ชื่อสถานที่ ภูขา ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร สรรพสัตว์นานาชนิด ฮีตครองประเพณีของลาวเผ่าต่างๆ การสงคราม คำกลอน คำผญาสุภาษิตต่างๆ  และโครงรื่องในศาสนาพุทธ  พรหมโลก  โดยแต่งรื่องเป็นแบบชาดก  (สัจจิดานันดะ  สะหาย, 1973)
ธวัช ปุณโณทก (2525) กล่าวถึงความคิดเห็นของพระอริยานุวัตร ต่อพระลักพระลามฉบับร้อยแก้ว ว่าโครงรื่อง อาจจะนำมาจากรื่องรามายณะจริงแต่มีการแก้ขปรับปรุงอย่างมากจนเกือบจะไม่คงเนื้อความเดิมเลยโดยเฉพาะฉากท้อง รื่องกวีได้สร้างขึ้นในดินแดนลุ่มน้ำขงนี้เองและได้นำเนื้อรื่องมาสัมพันธ์กับชื่อบ้านนามเมืองในดินแดนแถบลุ่มน้ำขงนี้ป็นลักษณะตำนานชื่อบ้านนามเมือง  กล่าวคือชื่อบ้านนามเมืองเหล่านี้เกิดจากพระลักพระลาแล้วช้รียกชื่อมาจนถึงทุกวันนี้ฉะนั้นแสดงว่ากวีได้รับโครงรื่องมาผสมผสานกับความชื่อรื่องชื่อบ้านนามเมืองในดินแดนลุ่มแม่น้ำสร้างเป็นพระลักพระลามขึ้นมา
สรุป
วรรณกรรมเรื่องพระลัก-พระลามได้ต้นเรื่องไปจากรามายณะของอินเดียแต่ได้ปรับให้เข้ากับท้องถิ่นลุ่มน้ำโขง ในเรื่อง พระลัก-พระลามจะบรรยายถึงแม่น้ำโขง สภาพบ้านและเมืองที่อยู่ริมน้ำโขงทั้งสองฝั่งว่ากำเนิดขึ้นมาอย่างไร เนื้อหาของวรรณกรรม พระลัก-พระลามสามารถแบ่งได้เป็น 2 ภาค ภาคแรกมีแก่นเรื่องอยู่ที่การลักพาตัวพี่สาวของพระรามโดยทศกัณฑ์ คือ ราวณะในฉบับอินเดีย และ ฮาบมะนาสวนในฉบับอีสานและลาว ส่วนภาคที่สองเป็นเรื่องของทศกัณฑ์ลักพาตัวนางสีดา 
เนื้อหาโดยสังเขป
รามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ลักนางสีดา ต้นเหตุของศึกทศกัณฐ์ เริ่มต้นจากนางสำมนักขาที่ไปหลงรักพระราม แต่ไม่ได้รักตอบ จึงวางอุบายนำกิตติศัพท์ความงามไปเล่าให้ทศกัณฐ์ฟัง ทศกัณฐ์อยากได้นางสีดามาเป็นมเหสี จึงคิดแผนให้มารีศแปลงร่างเป็นกวาง เพื่อหลอกล่อให้พระรามออกจากอาศรม จากนั้นจึงลักพานางสีดาไป พระรามได้ออกเดินทางไปช่วยนางสีดา ระหว่างทางพบนกสดายุที่โดนทศกัณฐ์ทำร้าย พบยักษ์กุมพลที่ต้องคำสาปช่วยบอกทางไปกรุงลงกา
จากเนื้อเรื่องข้างต้น  จะเห็นได้ว่า บทละครเรื่องนี้เหมาะแก่การอ่านเพื่อความเพลิดเพลินในแง่ของวรรณคดีมากกว่าการใช้เล่นละคร เพราะเรื่องยาวมีบทพรรณนาและสอดแทรกชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้น เช่น เวลามีงานนักขัตฤกษ์จะมีมหรสพฉลองเป็นต้นและยังได้สอดแทรกคติและคุณธรรมแก่ผู้อ่านเช่นความซื่อสัตย์ของนางสีดาที่มีต่อสามี ความกล้าหาญของพระรามและหนุมาน ความอกตัญญูของทรพี ความไม่มีศีลสัตย์ของทศกัณฐ์ เป็นต้นล้วนเป็นคติสอนใจให้แก่ผู้อ่านทั้งสิ้น  นอกจากนี้การเดินทางก็เป็นปัจจัยที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วย
ลักษณะคำประพันธ์
                เรื่องพระลัก-พระลาม  แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกลอนอ่าน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลอนเทศน์ หรือกลอนสวด ซึ่งเป็นการนำเอาคำกลอนมาแต่งเป็นเรื่องยาวๆ สำหรับอ่านสู่กันฟัง หรือใช้แต่งวรรณกรรมเรื่องยาวสำหรับเทศน์ สวด หรือเพื่อเป็นคติสอนใจ และเพื่อความบันเทิง กลอนอ่านในเรื่องพระลัก-พระลามนี้ เป็นกลอนอ่านอักษรสังวาส ลักษณะคำประพันธ์ประเภทกลอนอ่านสังวาส  ที่ปรากฏให้เรื่องพระลัก-พระลาม มีลักษณะดังนี้คือ
๑.      กลอนอ่านแบ่งเป็นบท บทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคหนึ่งประกอบด้วยจำนวนคำตั้งแต่ ๗-๑๐ คำ บทในกลอนอ่านมี ๒ ชนิด ได้แก่ บทเอก และ บทโท
 บทเอก บทหนึ่งมี ๒ วรรค มีเสียงเอกกำกับ ๓ ตำแหน่ง เสียงโท ๒ ตำแหน่ง เสียงเอกจะปรากฏในคำที่ ๒,๔ ในวรรคที่ ๑ และคำที่ ๔ ในวรรคที่ ๒ เสียงเอกอาจใช้คำตายแทนได้ เสียงโท จะปรากฏในคำที่ ๓ วรรคที่ ๑ และคำที่ ๗ วรรคที่ ๒ ตำแหน่ง เอกโทบางครั้งก็ไม่ตายตัว อาจจะเลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งถัดไปได้
ตัวอย่างบทเอก

“บัดนี้ จักก่าวถึงผู้                                ผ่านพื้นพญาใหญ่ทัวระพี   ก่อนแล้ว
มันก็ทงกำลังแฮง                                เกิ่งสารแสนช้าง 
                บทโท  หมายถึงบทที่มีวรรณยุกต์โทกำกับ ๓ ตำแหน่ง วรรณยุกต์เอก ๓ ตำแหน่งเท่ากัน แต่ระดับเสียงโทจะขึ้นก่อน เสียงเอกจะปรากฏในคำที่ ๓ วรรคที่ ๑ และคำที่ ๓,๕ ในวรรคที่ ๒
ตัวอย่างบทโท

                                                “บัดนี้  กูหากมาตอพอยแท้               ฅนเดียวพัดพ่อ  กูแล้ว
                                                                แม่หากมาบ่เลี้ยง                  บายกิ้มทอดเสีย  นี้เค
๒.    กลอนอ่าน อาจมีคำเสริม คำสร้อยได้อีกวรรคละ ๒-๔ คำ
                                คำเสริม  เป็นคำที่เสริมหน้าวรรค  เพื่อให้ได้ความหมายชัดเจน เช่น อันว่า,แต่นั้น,เมื่อนั้น,โอนอ เป็นต้น  “แต่นั้น  สาวก็แผๆ ด้านคำเสน่ห์สวยเสียด”         “บัดนี้ เฮาก็จะเจรจาต้านคำดูก่อน”
                                คำสร้อย  เป็นคำที่เสริมเข้ามาในตอนท้ายวรรค เช่นคำว่า นี้เด,แท้แล้ว,พุ้นเยอ,แท้นอ เป็นต้น  “มาบ่กูณาโผดผายตัวข้อย  นี้เด”      “เขาก็มาชมชื่นเฝ้ามาท้าวแกว่างวี  แท้แล้ว
       ๓. การเขียนวางรูปคำสำหรับกลอนอ่านในวรรคหนึ่งๆ นั้น อาจแบ่งเป็นตอน หน้า ๓ คำ หลัง ๔คำ ดังแสดงแล้วในผังข้างต้น หรืออาจเขียนติดต่อเป็นวรรคเดียวก็ได้   ในเรื่องพระลัก-พระลาม จะเขียนติดต่อเป็นวรรคเดียวกัน ไม่มีการแบ่งคำ เช่น
                                บัดนี้ จักได้เล่าพากพื้นกาลก่นปฐม ก่อนแล้ว ตั้งพากเป็นนิทานแต่กาลปฐมเค้า ปางก่อน
พุ้นพญาฮาบมะนาสวน พระก็ทรงลักกาเกิ่งเมืองสวรค์เมืองฟ้า นักสนมล้นบริวารอนันต์เนก  นับโคบฝาลายต้อง ฮองๆ เหลื้อมเสาร์สูงผาสารท
๔. กลอนอาจไม่มีการส่งสัมผัสระหว่างวรรค หรือระหว่างบท จะอาศัยจังหวะในการเป็นสำคัญเช่น
                                แต่นั้น เตโชแก้วหุลละมานแถลงก่าว
                                ข้านี้จะทูตให้พระลาม เจ้าแต่งมา พระเอย
                                พระก็เคืองพระทัยด้วยเทวีนางนาถ
                                พระก็ไปขาบไหว้รัสสีเจ้าปูกแปง
                                พระลามก็เอานางแก้วสีดายัวระยาด
                                ฮอดเขตด้าวดงกว้างฮึบเซา
  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑,,๓ได้ได้ส่งสัมผัสไปยังคำที่๑,,หรือ ๓ในวรรคที่ ๑,,และ ๔เรื่องพระลัก-พระลาม จะไม่มีการสัมผัสระหว่างบทหรือสัมผัสระหว่างวรรคเลย
ว่า-พระยาวิโรหาราช สุครีพ พระยากาสี พาลี- พระยากาวินทะ หนุมาน- หอรมาน ฯลฯ ส่วนโครงเรื่องนั้นคล้าย คือพระยาวิโรหาราชไปเป็นชู้กับนางสุธัมมา มเหสีของพระอินทร์เช่นเดียวกัน มีบางส่วนต่างกัน เช่น หนุมานเป็นลูกของพระยากาวินทะกับนางวานร ไม่ใช่เป็นลูกพระรามเหมือนฉบับอีสาน และยังมีส่วนปลีกย่อยแตกต่างกันอีกบ้าง ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่ากวีพื้นบ้านของไทยทั้งภาคเหนือ อีสานต่างก็มีอิสระในการปรับเปลี่ยนโครงเรื่องวรรณกรรมเรื่อง รามายณะตามทัศนะของตน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก
สำนวนโวหาร
                     สำนวนโวหารในเรื่องพระลักพระลามนับว่าเป็นสำนวนที่ดีเด่นเรื่องหนึ่งของวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน แม้ว่าจะไม่แพร่หลายเหมือนวรรณกรรมนิทานเรื่องอื่นๆ เช่น สินไซ กาละเกด จำปาสี่ต้น นางผมหอม ก็ตาม
                      การดำเนินเรื่องตามแนวนิทาน นั่นคือเล่าตามลำดับเหตุการณ์ และบางครั้งมีการเปลี่ยนฉากสถานที่และเหตุการณ์ก็แจ้งไว้ชัดเจน สำนวนโวหารโดยทั่วไปกวีจะเน้นเรื่องอรรถรสไม่น้อยยังจะยกตัวอย่างต่อไป
                    ๑.) พรรณนาฉาก กวีได้พรรณนาฉากสถานที่ ชมดงพงพี โดยกล่าวถึงชื่อไม้ สัตว์ นก ตามจินตนาการของกวี เพื่อให้เกิดภาพพจน์และเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในเรื่องดำเนินเรื่อง นอกจากนี้กวียังได้ชมความงามสตรี อันเป็นความงามในอุดมคติของชาวอีสานในสมัยอดีต ที่เห็นว่าสตรีงามนั้นน่าจะต้องมีรูปลักษณ์ เช่นนางสีดาจันทะแจ่ม ซึ่งกวีก็ได้พรรณนาไว้ ดังนี้
พระก็           หลิงย่ำเยี่ยม               ค่วงฟ้าซูภาย                       หลิงล่ำ–มองดู ,ค่วง- บริเวณฟากฟ้า               
    ท้าวก็หลิงดู    ดาวแม่ร้าง              แกมหมู่ฝูงสาว    
                                              ดาวผีโพง               อยู่แกมดาวม้า                      ผีโพง – ผีกระสือ
อันว่า             ดาวพ่อค้า               เดินเที่ยวขายของ
หลินดู           ดาวช้างน้อย            นอนแนบเทียมแม่                เทียม – คู่เคียง
                      ดาววีซ้อน              ดาวค่างแฝงพ่างกันนั้น        วี – พัด
                      ดาวอัศวะนีซ้อน     ภรณีในเมฆ
                      ดาวช้างนั้น              เมืองฟ้าฝ้ายเหนือ
มีทั้ง              ดาวโรหินีพร้อม      กติกาแฝงคู่พุ้นเยอ                พุ้นเยอ – โน้น
มีทั้ง              ดาวรูปม้า                 ทยานเต้นอยู่โรง
                     ดาวมิดสีระ              อัทธะโสดสมสอง
มีทั้ง              ดาวสะเภาหลวง       เบิกกระโดงเทิงฟ้า                เทิง – บน , ข้างบน
                                        บุพพะสุระสร้อย       ปุสสะเคียงคู่
                    ๒) พรรณนาความงามของดวงดาว ในเรื่องพระลักพระลาม พบสำนวนพรรณนาที่แตกต่างไปจากวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องอื่นๆของอีสาน  นั่นคือมีการพรรณนากลุ่มดาวต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากวีมีความรู้เรื่องกลุ่มดาว และดาวนักษัตร วึ่งมีชื่อเรียกต่างกับภาคกลางอยู่ไม่น้อย ดังนี้
     0 เมื่อนั้น     พอเดิกเดิกแล้ว          เถิงแถใกล้สิรุ่ง                      * เดิก - ดึก, แถ - แยดใกล้
                         ผ่อดู         เสดกาท้าว                 เรืองเข้าร่วมกัน                       ผ่อ – ดู – เห็น
                                           ดามมาฆะท้าว            เสด็จด่วนแกมมาพุ้นเยอ
                                           เบิ่งดาวบุปผา             แล่นมาเรียงซ้อน
                                           ดาวปะหัดย้าย            แกมเลาน้ำหลั่ง                        ปะหัด – พฤหัส
           ดาวจิตตะโยกย้าย       เรียงซ้อนร่วมสะนอน             สะนอน – นอน
           ดาวีซ้อน                    ดาวค่างหนักเหนื่อย                …. ฯลฯ….
0 แต่นั้น      กาลเหิงนานได้          สิบสองปีสอนใหญ่                     * เหิง – นาน
                       นางก็         งามยิ่งแท้                   คือป้องแปลกเขียน
                       พระจึง       หาชื่อน้อย                 สีดาจันทะแจ่ม         
                       เทื่อว่า        งามยิ่งย้อย                 พระอินทร์แต้มแต่งลง             เทื่อ –  ที , ครั้ง
                       อันว่า         ตาเคี่ยมคิ้ว                 คือลวดวรรณคำ                       เคี่ยม – คม , คมขำ
                                         ผิวพ่างสุก                  ยิ่งงามเลาอ้วน
                                         แขนกลมส้วย            ตีนผมเสมอเสี้ยน                     ส้วย – เรียว
                                      คีงอ่อนเพียง              ปานฝ้ายดีดผง                           คีง – ตัว , ร่างกาย
                                      อระใหม่เนื้อ              กลมพระกายเอากิ่ว
                                      นิ้วแลบน้อย              กลมส้วยดั่งเทียน
                                         เจาะเบาะหน้า           นมงามคือเสี้ยน                         เจาะเบาะ – คำขยายของงาม
                                         ผมเกศเกล้า               งามย้อยฮอดดิน                        ฮอด – ถึง , จรด
                                           ดังหากลักษณ์พร้อม  โสมงามถีกโสลก                     โสม – โฉม , ถืก – ถูกต้อง
                     ยามเมื่อ       ปากจาต้าน                 หัวแล้วจึงจา                             จาต้าน – พูดคุย , จา – เจรจา
                                          …..ฯลฯ
ทัศนะต่อสังคม
วรรณกรรมอีสานเรื่องพระลักพระลาม ดูเหมือนให้ความสำคัญต่อการปกครองไม่น้อย นั่นคือพยายามในแนวคิดเรื่องผู้มีอำนาจในบ้านเมืองควรจะให้ความเป็นธรรมแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฏร์ มิควรจะเห็นประโยชน์สุขส่วนตัวเป็นที่ตั้ง โดยนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาเป็นแกนนำของการปกครอง นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ย่อมอยู่กันเป็นครอบครัว ทั้งหญิงและชายย่อมต้องอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน สังคมจะขาดเพศใดเพศหนึ่งไม่ได้ อันเป็นโลกทัศน์ของคนไทยทั่วไปนั่นเอง
อิทธิพลของวรรณกรรมที่มีต่อสังคมไทย
เนื้อเรื่องมีความสนุกสนาน ประกอบด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์และสอดแทรกคุณธรรมไว้ อีกทั้งอุปนิสัยของตัวละครก็สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย เช่น นางสีดาเป็นแบบแผนของหญิงที่มีความชื่อสัตย์ต่อสามี พระรามเป็นแบบแผนของลูกที่ดี  มีอิทธิพลต่อสังคมไทยดังนี้
๑. ด้านภาษาและวรรณคดี  มีสำนวนที่พบหลายสำนวน เช่น ลูกทรพี เหาะเกินลงกา สิบแปดมงกุฎ ราพณาสูร ตกที่นั่งพิเภก เป็นต้น
๒. ด้านศิลปกรรม ก่อให้เกิดแรงดลใจให้จิตรกรนำเรื่องราวไปวาดภาพตามฝาผนังโบสถ์ วิหาร
๓. ด้านนาฏศิลป์ เรื่องนี้นิยมนำมาแสดงโขน ละคร หนังใหญ่ จึงนับว่ามีอิทธิพลต่อนาฏกรรมไม่ใช่น้อย
๔. ด้านประเพณี ให้ความรู้เกี่ยวกับด้านประเพณีต่างๆโดยเฉพาะพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีวิวามงคล พระราชพิธีราชาภิเษก พิธีปล่อยม้าอุปการ การยกทัพ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น