วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิจารณ์เรื่องสั้น

เรื่องสั้น  “ในวันที่วัวชนยังชนอยู่
บทวิจารณ์โดย  นางสาวกมลรัตน์  สุขขี
หนังสือซีไรต์ประจำปี 2551
ชื่อหนังสือ  เราหลงลืมอะไรบางอย่าง  ประเภท เรื่องสั้น
ผู้แต่ง วัชระ สัจจะสารสิน
วัชระ สัจจะสารสิน เป็นนามปากกาของ วัชระ เพชรพรหมศร เขาเกิดเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2518  เป็นชาวอำเภอควนเนียง  จ.สงขลา  เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านควนเนียง  มัธยมศึกษาที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ
จ.สงขลา  ปริญาตรี/โท  คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์  ปริญญาตรี  คณะนิติศาสตร์  ม.ธรรมศาสตร์
วัชระ เคยทำงานพิสูจน์อักษรในสำนักพิมพ์นาคร และประจำกองบรรณาธิการนิตยสารไรเตอร์แม็กกาซีน ยุค กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ เป็นบรรณาธิการ ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่งพนักงานคดีปกครอง สำนักงานศาลปกครอง
ผลงานเรื่องสั้นเรื่องแรก  ภาพฝัน”  ของเขาตีพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์เมื่อปี พ.ศ. 2538   และ เรื่องสั้น วาวแสงแห่งศรัทธาได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี พ.ศ.2548                        ส่วนเรื่องสั้น ในวันที่วัวชนยังชนอยู่ได้รับรางวัลชมเชยรางวัลกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ประจำปี พ.ศ.2551
รวมเรื่องสั้นเล่มแรก  เราหลงลืมอะไรบางอย่างได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ.2551
เราหลงลืมอะไรบางอย่างเป็นรวมเรื่องสั้น 12 เรื่องที่กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมและความเป็นไปของเหตุการณ์บ้านเมืองร่วมยุคสมัย  นักเขียนเน้นความเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึกของผู้คนทั้งในสังคมชนบทและสังคมเมือง ที่มีผลมาจากความเจริญทางวัตถุ จากความละเมียดละไมไปสู่ความหยาบกระด้าง และในที่สุดความรู้สึกแบบสังคมเมืองก็ครอบคลุมสภาพจิตใจของชนบทไว้ได้อย่างสิ้นเชิง เพราะมนุษย์เปลี่ยนไปตามโลกโดยไม่รู้ตัว จากคนที่มีน้ำใจไมตรีไปสู่คนเพิกเฉยเย็นชา จากสังคมเรียบง่ายไปสู่สังคมที่ซับซ้อนขึ้น ในสภาพดังกล่าวมนุษย์จึงตกอยู่ในวังวนแห่งความสับสน แปลกแยก และหวาดระแวง
การตั้งชื่อชุดว่า เราหลงลืมอะไรบางอย่างเป็นการชี้ชวนให้ผู้อ่านฉุกคิดว่าขณะที่เรามองชีวิตไปข้างหน้า และพร้อมจะก้าวไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือของโลกอย่างรวดเร็วนั้น เราได้หลงลืมอะไรบางอย่างหรือเปล่า เราอาจจะกำลังละทิ้งความรู้สึกที่ครั้งหนึ่งเคยละเอียดอ่อน แล้วลุ่มหลงไปกับสื่อที่พัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง เราได้ละทิ้งความฝัน ความปรารถนา และจินตนาการที่คนรุ่นก่อนเคยให้ความสำคัญไปแล้วหรืออย่างไร   นับว่า เราหลงลืมอะไรบางอย่างเป็นเรื่องสั้นชุดหนึ่งที่ท้าทาย                        กับการตั้งคำถามเกี่ยวกับจิตสำนึกของคนในสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
ผู้เขียนยังเลือกที่จะท้าทายอำนาจรัฐด้วยการตั้งคำถามบางประการผ่านตัวละครวิกลจริต นำเสนอภาพเมืองที่สกปรก เต็มไปด้วยสารพันปัญหา รวมทั้งมลพิษและอาหารขยะด้วยเรื่องเล่าของคนเก็บขยะ     นัยยะที่สื่อออกมาประการหนึ่งคือทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา  ไม่ใช่ประชาชนเป็นผู้ถูกกระทำตลอดเวลาหรือเป็นความผิดของรัฐเพียงฝ่ายเดียว  ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงสามารถนำปัญหามายั่วล้ออย่างรื่นรมย์  ผู้เขียนใช้กลวิธีการเล่าเรื่องที่มีพลัง ผ่านการใช้ภาพเปรียบเทียบการสร้างเรื่องที่มีเสน่ห์ ชวนให้ผู้อ่านติดตาม ครุ่นคำนึง และสุดท้ายให้ตีความได้หลายนัย  กล่าวได้ว่ารวมเรื่องสั้น เราหลงลืมอะไรบางอย่างมีกลวิธีการเล่าเรื่องในแบบเฉพาะตน คือ ตั้งคำถามกับปัญหาในลักษณะที่เป็นปัญญาชน นำเสนอสัญญะในเชิงเปรียบเทียบ  เว้นจากการสรุปหรือแนะทางออกด้วยการเปิดปลายให้ผู้อ่านขบคิดต่อคำถามเหล่านั้นเอาเอง
ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจารณ์วรรณกรรม ทฤษฎีแนวสังคม
แนวคิดทางสังคมและทฤษฎีสังคม
แนวคิดทางสังคม (Social thought) หมายถึง ความคิดของมนุษย์โดยมนุษย์และเพื่อมนุษย์ ความคิดที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา จะกระทำโดยคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ กรณีที่คิดคนเดียวก็ต้องเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นด้วย แม้ไม่ยอมรับทั้งหมดก็อาจยอมรับเพียงบางส่วน ความคิดนั้นจึงคงอยู่ได้ Emory Bogardus ได้ให้ความหมายแนวคิดทางสังคมว่า เป็นความคิดเกี่ยวกับการสอบถามหรือปัญหาทางสังคมของบุคคลต่างๆไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือปัจจุบัน เป็นการคิดร่วมกันของเพื่อนหรือผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์ เป็นความคิดของแต่ละคนและของกลุ่มคน ในเรื่องรอบตัวมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ของสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัยก็ต้องคิด เพื่อหาทางแกปัญหาหรือทำให้ปัญหาบรรเทาลง ความคิดความอ่านที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาแล้ว และใช้การได้ดี ก็จะได้รับการเก็บรักษาสืบทอดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง

ทฤษฎีสังคม (Social Theory)
ความหมายของทฤษฎี คือ คำอธิบายสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีจะต้องเป็นคำอธิบายตามหลักเหตุผลแสดงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของสิ่งนั้นอย่างมีระบบจนสามารถพยากรณ์สิ่งนั้นในอนาคตได้
ดังนั้น ความหมายของทฤษฎีสังคม คือ คำอธิบายเรื่องของคนและความสัมพันธ์ระหว่างคนตามหลักเหตุผล และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของคน หรือระหว่างคนต่อคน คนต่อกลุ่ม คนต่อสภาพแวดล้อม อย่างมีระบบจนสามารถพยากรณ์ได้
ซึ่งหนังสือรวมเรื่องสั้นชื่อ  “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง” ของวัชระ  สัจจะสารสิน  ก็เป็นงานเขียนที่สะท้อนภาพชีวิตและสังคมในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลง  ตรงตามทฤษฎีการวิจารณ์เป็นอย่างมาก  ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าสังคมปัจจุบัน  มนุษย์มีความขัดแย้งต่อสู้และแข่งขันกันในทางการเมือง  สังคมและวัฒนธรรม  มนุษย์เปลี่ยนไปตามโลกโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว  จากความละเมียดละไมไปสู่ความหยาบกระด้าง  จากคนที่มีน้ำใจไมตรีไปสู่คนเพิกเฉยเย็นชา  จากคนสังคมเรียบง่ายไปสู่สังคมที่ซับซ้อนขึ้น  ในสภาพดังกล่าวมนุษย์จึงตกอยู่ในวังวนแห่งความสับสนแปลกแยกและหวาดระแวง
ตัวอย่างเรื่องสั้นที่สะท้อนสภาพสังคม
เรื่องสั้น  เรื่อง  “นักปฏิวัติ
ชายผู้หนึ่ง ซึ่งยังอยู่ในวัยเรียน และอาจารย์ได้มอบหมายให้เขาทำรายงาน ตั้งแต่ต้นเทอม แต่เขาปล่อยตัวเละเทะ เรื่อยเฉื่อย ไร้ระเบียบกับชีวิต และการเรียน แต่เขากลับตื่นตัวมาคิดทำเอาเมื่อเวลาล่วงผ่านจนเหลืออาทิตย์สุดท้าย
คราแรกเขาคิดจะทำเรื่องมายาภาพทางการเมือง แต่หนังสือเรื่องดังกล่าวได้มีคนยืมไปแล้ว เขาไม่มีเวลาอีกแล้วที่จะคอยหนังสือเหล่านั้นจากคนที่ยืมไป และในที่สุดเขาก็ต้องเปลี่ยนหัวข้อรายงาน มาเป็นเรื่องการปฏิวัติ มันวาบเข้าสู่สมองเมื่อเข้าสู่ภาวะจนตรอก เขาต้องบากหน้าไปอ้อนวอนขอเปลี่ยนหัวข้อรายงาน จารกอาจารย์ หลังจากนั้นเขาเริ่มทำรายงานอย่างจริงจัง แต่รายงานของเขาต้องจบด้วยการออกรายงานหน้าชั้นเรียน  เพราะเขาเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออกมากๆเลย แต่ถ้าเป็นงานเขียน เขาจะถนัดมาก เขาตั้งใจซ้อมในการรายงานหน้าชั้นเรียนเป็นอย่างมาก จนในขณะนั้น เขาคิดว่าเขาเป็นนักปฏิวัติจริง และแล้วก็ได้เวลาของนักปฏิวัติแล้ว เขาก็รีบไปที่ท่าเรือเพื่อที่จะข้ามไปอีกฟากหนึ่ง ตอนนั้นเขามองไปยังโรงเรียนอีกฟากหนึ่ง เขารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมาก และแล้วเขาก็เขาก็ปล่อยให้เรือข้ามฟากผ่านรอบแล้วรอบเล่า จนหมดเวลาที่จะรายงานหน้าชั้น
เขาเดินทางกลับบ้านอย่างผิดหวังและสีหน้าของเขาดูเศร้ามาก ในขณะที่เขากำลังนอนตะแคงอยู่ เขาพูดว่า นักปฏิวัติที่เขาทำรายงานเหล่านั้นมันตายไปหมดแล้วนี่หว่า...! แล้เขาก็ลุกขึ้นไปทำความสะอาดห้องที่รกรุงรังให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม
แสดงทัศนะ
ในเรื่องสั้นเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้ตนเองได้ในสิ่งที่คาดหวังไว้ แต่ด้วยความไม่ตั้งใจจริงของเขาทำให้ทุกอย่างที่เขาทำไปดูเหมือนไร้ค่า เนื่องจากความกลัวที่มีอยู่ในตัวเขา คือความไม่กล้าแสดงออก แต่เขาหารู้ไม่ว่าความกล้าแสดงออกนั้น เป็นพฤติกรรมที่ควรสร้างให้เป็นวัฒนธรรม เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาให้เกิดองค์กรเรียนรู้ โดยเป็นสังคมที่ใช้ข้อมูลทุกฝ่ายมาตัดสินใจ แล้วสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  เขายอมที่จะเสียคะแนนตรงนี้ไป ยอมที่จะสละในสิ่งที่เขาทุ่มเทอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน  และในเรื่องสั้นเรื่องนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตและสังคมในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลง มนุษย์มีการต่อสู้ ดิ้นรนในช่วงที่พบกับวิกฤตในชีวิต อาจกล่าวได้ว่า มนุษย์เรา เมื่อถึงคราวจนตรอกหรือ หมดหนทาง ทำให้คนเรามักทำอะไรที่ตนคิดว่าไม่น่าจะทำได้ แต่อันที่จริงแล้ว ไม่มีสิ่งใดที่เราทำไม่ได้หากเราทุ่มเทมันด้วยใจรักและความมุ่งมั่น และมนุษย์มีการเปลี่ยนไปตามโลกโดยรู้ตังและไม่รู้ตัว ฉะนั้นเราจงเป็นคนขยัน ตั้งใจ เสมอต้นเสมอปลาย จึงจะกลายเป็นนักพัฒนาตนเองที่มีประสิทธิภาพ.
เรื่องสั้น  เรื่อง เรื่องเล่าจากหนองเตย
หนองเตยเป็นหนองน้ำที่เต็มไปด้วยตำนานพรายน้ำ แม้เป็นตำนานอันชวนตระหนก แต่ในความคิดของเราเป็นเสมือน การเปิดโลกอีกโลกหนึ่งให้ทะยานท่องก้าวไปแม้เป็นโลกที่ลึกลับและไม่เขาใจ ทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกนว่า...ไม่ว่ากรณีใดๆห้ามลงในหนองเตยเด็ดขาด
คำเตือนดังกล่าวเป็นเสมือนกฎเหล็กที่ราต้องจดจำไว้เสมอ ถึงกระนั้นก็ยังมีคนแหกกฎ ไอ้แก่นเป็นหนึ่งในแก๊งของเรา มันหัวแข็งและดื้อกว่าใครอื่น มันไม่เชื่อสิ่งศักดิ์ใดๆ ช่วงปิดเทอม เราเดินเล่นเข้าสู่ป่า ชายนา เดินทะลุเข้าสู่หนอเตย เป็นเช่นนี้เสมอ แต่พอมาครั้งนี้ไอ้แก่นอยากลองดี มันถอดเสื้อลงไปในหนองเตย เราพยายามห้ามแต่ไม่สำเร็จ ทันใดนั้นก็มีลมแรง และยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ฟ้ามืดครึ้ม ฝนตกหนักมาก เราแทบมองไม่เห็นไอ้แก่นเลย  พวกเราจึงไปบอกพ่อของไอ้แก่น ที่ร้านน้ำชา ทันใดนั้นพ่อของไอ้แก่นก็ตามไปช่วยทันที แต่ทั้งสองก็ได้หายไปอย่างไม่มีวันกลับมา หลายปีผ่านไป ทุกอย่าดูเหมือนว่าจะสงบลง แต่มันยงไม่จบเมื่อน้าชัย เมื้อมีน้าชัย เป็นคนรื้อฟื้นมันขึ้นมาอีก
น้าชัยเรียนจบด้านการเกษตร เขากลับมาพัฒนาหมู่บ้าน และฟื้นฟูพื้นที่บริเวณหนองเตย ซึ่งเป็นที่ดินของเขา ถึงแม้ว่าทุกคนจะห้ามปรามสักแค่ไหนก็ตาม พ่อกับแม่ของเขาได้ทำพิธีขออนุญาตเจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลังจากนั้นทุกอ่างลุล่วงไปด้วยดี สวนของน้าชัยอุดมสมบูรณ์  และชาวบ้านต่างยอมรับในตัวเขา หลังจากนั้น เขาได้แต่งงานมีครอบครัวจนมีลูกชาย แต่โชคร้ายของน้าชัย ลูกชายของเขาได้จากไปเพียงวัยขวบกว่าๆ ด้วยเหตุที่ว่าเขาถูกงูเหลือมรัดจนเสียชีวิต หลังจากนั้นน้าชัยก็แยกทางกับภรรยาของเขา และชีวิตของเขาได้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ หลังจากนั้นน้าชัยกับเพื่อนๆของเขาที่มาจากในเมืองถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ทำให้พวกขาต้องหลบหนีข้าป่า พอเหตุการณสงบ น้าชัยก็กลบมาฟื้นฟูสวนของเขา แต่ในขณะนั้นมีคนมาลอบสังหารนาชัย โดยที่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนทำ
ในที่สุด ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิม ช่วงเทศกาลปีใหม่ พวกเราได้จัดงานฉลองกันอย่างครกครื้น ผมชักชวนเพื่อนๆนำดอกไม้แล้วไปที่สวนน้าชัย หลังจากนั้นลมพัดแรง พวกเราจึงถอยกลับไป เสียงใครคนหนึ่งตะโกนขึ้นว่า...เร็วๆเข้างานรื่นเริงกำลังรอเราอยู่
 แสดงทัศนะ
จากเรื่องสั้น เรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง จนถึงในสังคมปัจจุบัน มนุษย์ มีความขัดแย้ง มีการต่อสู้ดิ้นรน และแข็งขันกนในทางการเมือง และความสำเร็จของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัยจะมีหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันไป เนื่องจากสังคมมีการเจริญเปลี่ยนแปลงก็ทำให้หลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาถึงความ สำเร็จของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปด้วย.
และยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของคน คนไทยยังมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธ์ นับตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ดิฉันเชื่อว่าหลายคนคงจะต้องสงสัยกับอุบายต่างๆของคนโบราณอย่างแน่นอน แต่การสร้างอุบายเหล่านั้นแล้วมีเหตุผลประกอบ ในกรณีที่ห้ามไม่ให้เข้าใกล้หนองเตยอาจเป็นเพราะว่า คนสมัยก่อน ไม่อยากให้เด็กๆเข้าไปเล่นในบริเวณนั้น ด้วยเหตุที่ว่า กลัวว่ามันจะเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิด ฉะนั้นอุบายเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง.
เรื่องสั้น  เรื่อง  เพลงชาติไทย
เย็นวันหนึ่งผมนั่งทอดอารมณ์ในมหาวิทยาลัยที่เคยเรียนมา ขณะนั่งคิดอะไรเพลินๆเผชิญเพลงชาติไทย กระทั้งขี้นกลางมหาวิทยาลัย ทุกคนหยุดเดินแต่ผมไม่ลุกยืนเคารพธงชาติเพราะผมไม่รู้สึกตัวเลยตอนนั้น หลังจากเพลงชาติจบ มีอาจารย์หญิงผู้หนึ่ง เดินรี่ทำหน้าทมึงทึงเข้ามาหาผม พร้อมตะคอกใส่ผมว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า ผมนั่งเถียงกับอาจารย์ จนอาจารย์โกรธมากๆ พ้อมฟาดหนังสือเล่มโตบนหัวผมโครมใหญ่ก่อนเดินหายไป ผมรู้สึกว่าคล้ายตัวเองสูญเสียความทรงจำไป.
เมื่อผมกลับบ้านเกิด ทุกเช้าและเย็นก็จะมีการเคารพธงชาติ ทุคนพร้อมใจยืนตรง แต่มีน้าแสงคนเดียวที่ไม่ยืนตรงเคารพธงชาติ วันนี้มีนายตำรวจคนใหม่มาปฏิบัติหน้าที่แทนจ่าเมือง เขาไม่รู้ว่าน้าแสงเป็นคนบ้า  ผมพยายามบอกแล้ว ตาเขาก็ไม่ฟัง เขาจึงจับกุมน้าแสงไปโรงพัก เขาทั้งสองเถียงกันพักใหญ่ จนคูตำรวจโกรธมากๆ จึงตบหน้าน้าแสงแรงหนึ่งทีแล้วก็ปล่อยน้าแสงไป พร้อมกับกล่าวว่า อย่าให้กูเห็นว่ามึงไม่ยืนเคารพธงชาติอีก
            พอถึงวันใหม่ก็มีการเคารพธงชาติเช่นเดิม และน้าแสงก็มาอีกเช่นเดิม แล้วก็ไม่ยืนตรงเคารพธงชาติเช่นเดิม นายตำรวจไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงเข้าใกล้น้าแสง แล้วหยิบปืนขึ้นมาตบหน้าหน้าแสงแรงๆ ทุคนในตลาดต่างยืนนิ่งไม่กล้าพูดอะไร และหลังจากนั้น ทำไมผมถึงรู้สึกว่ามันมืด จนมองไม่เห็นอะไรเลย มันเงียบเหมือนป่าช้า และผมรู้สึกคล้ายว่าได้ยินเสียงใครร้องเพลงชาติ และเสียงนั่นก็ยิ่งเข้ใกล้ผมขึ้นมาเต็มทีแล้ว โอ! น้าแสงนั่นเอง ตอนนั้นหัวสมององผมกำลังจะแตกเป็นเสี่ยงๆ เหมือนจะปะมวลอะไรบางอย่างออกมา ผมกำลังอยู่ในป่าช้าจริงๆนั่นแหละ
แสดงทัศนะ
จากเรื่องสั้นเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตและสังคมในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลง ในสังคมปัจจุบัน มนุษย์มีความเปลี่ยนแปลงทางด้าน สังคมและวัฒนธรรม คือ จากที่เคยเป็นคนที่มีความละเมียดละไม ไปสู่ความหยาบกระด้าง จกที่เคยเป็นสังคมที่เคยอยู่กันอย่างฉันท์มิตร มีอะไรก็ช่วยเหลือกันได้ ผิดจากสมัยโลกาภิวัตน์ ทุกคนต่างก็มีความพยายามที่จะเอาตัวรอดกันให้ได้ สังคมที่มีแต่ความเผื่อแผ่ก็เริ่มจางลง จากคนที่มีนำใจไมตรีไปสู่คนเพิกเฉยเย็นชา จากคนสังคมเรียบง่าย ไปสู่สังคมที่ซับซ้อนขึ้น และยากที่จะเข้าใจ  จึงทำให้มนุษย์ตกอยู่ในวังวนแห่งความสับสน แปลกแยก และอาจทำให้คนในสังคมขาดความสามัคคี
จากเรื่องสั้นเรื่องนี้ก็สามารถให้บทเรียนแก่เราได้ เพียงแต่เราต้องรู้จักที่จะเลือกเดิน เพราะทุกอย่างที่ราทำลงไปในปัจจุบันจะส่งผลถึงอนาคต ถึงแม้ว่าเราไม่สามรถย้อนสังคมในอดีตให้กลับเป็นเหมือนเดิมได้ แต่เราสามารถสร้างมันเองได้ ด้วยความร่วมมือกันระหว่างคนในสังคม ภายใต้ความสามัคคีและปรองดองกัน แล้วความสงบ จะมาสู่บ้านเมืองเรา
เรื่องสั้น  เรื่อง  “วันหนึ่งของชีวิต”
ช่วงบ่ายแก่ๆ ข้าพเจ้าได้ไปงานศพแม่ของเพื่อน แถววัดบางขุนพรหม เดี๋ยวนี้ พิธีงานศพของคนในเมือง จะเลิกเร็วหน่อยเพระมีศพใหม่คอยท่าอยู่แล้ว ศาลาไม่ว่างแม้แต่วินาที่ศพจองไว้ยาวเหยียด หลังจากเสร็จสิ้นจากงานศพ ข้าพเจ้าได้ไปส่งเพื่อนที่บ้าน เขาอยู่กับแม่สองคน แต่เมื่อแม่แม่เขาเสียเขาเลยต้องอยู่คนเดียวและบ้านหลังนี้เป็นบ้านของพี่ๆเขาที่ซื้อให้แม่ของเขา เขาบอกว่าเมื่อแม่เขาเสียพี่ๆก็จะเอาบ้านนี้คืน ทำให้เขาต้องเตรียมย้ายออกไปอยู่ที่อื่น ระหว่างทางที่ข้าพเจ้าเดินทางกลับบ้าน ข้าพเจ้าได้เห็นรถมอเตอร์ไซคันหนึ่งได้เกิดอุบัติเหตุชนเสาริมถนน ผมเลยจอดรถเข้าไปช่วย หลายคนเข้าใจผิดว่าข้าพเจ้าเป็นคนชน แต่ข้าพเจ้าก็ไดอธิบายให้ฟัง และหลายคนก็บกว่า ไปยุ่งกับเขาทำไม และข้าพเจ้าได้อธิบายอีกจนพวกเขาเงียบไป
เมื่อเหตุการณ์สงบลง ข้าพเจ้าก็ได้เดินทางกลับบ้าน แต่เมื่อถึงบ้าน ก็เห็นบ้านมืดสนิท ในมือของข้าพเจ้ากำทอนไม้ถนัดมือพร้อมแล้ว ย่องเข้าไปในบ้านทันใดนั้น ไฟสว่างพรืบ พร้อมเสียงร้อง แฮบปี เบิร์ด เดย์ ทูยู แฮบปี เบร์ด เดย์ ทูยู ..... ภรรยาและลูกสาวเดินเข้ามาพร้อมเค้กก้อนโต ข้าพเจ้าถามลูกสาวว่า เอ๊..วันนี้วันเกิดพ่อหรือ?
แสดงทัศนะ
เมื่อโลกเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี มีความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น ทำให้คนเราพึ่งพาคนรอบข้างน้อยลง ดิฉันไม่อยากจะเชื่อเลยว่า เมื่อโลกพัฒนาเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ และสังคม สมัยนี้คนในสังคมเริ่มมีความสัมพันธ์น้อยลงบางคนอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ยังไม่รู้จักกันเลย ผิดกับในอดีต ที่คนในสังคมดำรงชีวิตกันแบบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมื่อมีคนในสังคมเดือดร้อนก็จะพากันช่วยเหลื่อกันโดยไม่เกี่ยงแต่อย่างใด
ในเรื่องสั้นเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเพิกเฉยของคนในสังคมสมัยใหม่ ที่ส่วนใหญ่แล้วขาดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ขาดความละเมียดละไม ขนาดเป็นพี่น้องกัน ยังทำกับว่าไม่ใช่คนรู้จัก ไม่ใช่สายเลือดเดียวกัน เรื่องสั้นเรื่องนี้ ได้ให้บทเรียนให้กับคนสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี    
เรื่องสั้น  เรื่อง “วาวแสงแห่งศรัทธา”
รถไฟเปิดหวูดลั่นสถานี  สักครู่ขบวนรถเริ่มเคลื่อนออกจากชานชาลา  พงศ์จันทร์ใจขึ้นระทึกชั่วขณะ  นานมากทีเดียวที่ไม่ได้กลับบ้านโดยรถไฟ  กลับจากบ้านคราวนี้  เขาต้องเปิดคอร์สวิชาที่สอน  การเป็นอาจารย์ใหม่ในมหาวิทยาลัยกดดันเขามิใช่น้อย  เขารู้สึกว่าตัวเองยังหน้าใหม่ในแวดวงวิชาการ  เมื่อนึกถึงอาชีพการงานของตัวเอง  ภาพของพ่อเหมือนจะวาบแทรกขึ้นทันใด  และก็พ่ออีกนั่นแหละที่ทำให้เขาต้องกลับบ้านในตอนนี้  ทางบ้านแจ้งว่าเป็นวันเลือกตั้ง  เขาต้องเคลียร์การสอนและกิจกรรมทุกอย่างเพื่อให้วันนี้ว่างให้ได้  แม้จะเป็นการเลือกตั้งในท้องถิ่นเล็กๆ  แต่เมื่อพ่อเขาลงสมัครด้วย  จึงจำเป็นที่เขาต้องลงไปช่วยเลือกพ่อให้มีเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียง   จำได้ว่าเขาฟอร์มทีมกับเพื่อนที่มีอุดมการณ์เดียวกันสิบกว่าคน  เพื่อลงไปช่วยพ่อหาเสียงเลือกตั้ง  คืนสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้งทางทีมงานได้นัดกันมาประเมินสถานการณ์เป็นครั้งสุดท้าย  และเห็นว่าโอกาสที่พ่อจะเป็นฝ่ายชนะค่อนข้างสูง  พงศ์จันทร์ถึงกับอึ้งกับผลการเลือกตั้งมือไม้อ่อนไปหมด  เพื่อนๆของเขาก็เช่นกันเหมือนไม่เชื่อสายตา  ส่วนพ่อหลบเข้าบ้าน  เขาไม่เชื่อว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาในลักษณะที่พ่อแพ้หลุดลุ่ย  พ่อโกรธจัดไม่ยอมเข้ามาคุยหรือรับฟังเหตุผลใดๆจากทีมงาน
รถไฟวิ่งเข้าเทียบชานชาลาประจำอำเภอ  ระหว่างนั่งมอเตอร์ไซค์  เขาสังเกตเห็นป้ายหาเสียงตามสี่แยกเต็มไปหมด  และรู้ได้ทันที่ว่าพ่อต้องแข็งกับพวกเดิมอีก  เขารู้สึกนักใจแทนพ่อ  เมื่อถึงกรุงเทพฯพงศ์จันทร์รีบโทรกลับไปหาพ่อ  และก็ทราบข่าวดีจากปากพ่อว่าคราวนี้แกเป็นฝ่ายชนะ  น้ำเสียงของพ่อดูมีความสุขอย่างที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน  และพ่อบอกกับเขาว่าเหตุที่ชนะก็เพราะนำนโยบายและยุทธวิธีต่างๆที่เขาและเพื่อนๆทำไว้เมื่อสี่ปีก่อนมาใช้  แต่ปรับเปลี่ยนให้ทันเกมคู่แข็งเท่านั้นเอง  แกชี้ให้เห็นว่าเมื่อสี่ปีก่อนพวกเราแพ้ส่วนหนึ่งเพราะความประมาท
พ่อคงประหลาดใจเช่นกันกับผลสำเร็จที่เกิดขึ้น  และคงยิ่งเข้าใจอะไรดีขึ้นเมื่อสิ่งที่เขาและเพื่อนๆได้ทำไว้เมื่อสี่ปีที่แล้วกลับผลิดอกออกผลให้แกได้เก็บกินใช้สอย  ศรัทธาบางอย่างคล้ายๆจะกลับคืนมา  ภาพเหตุการณ์เมื่อสี่ปีที่แล้วคล้ายวาบชัดขึ้นมา  ขณะเดียวกันภาพบรรยากาศตอนพลบค่ำบนรถไฟขบวนกลับบ้านก็ซ้อนทับขึ้นมาเช่นกัน  
แสดงทัศนะ
จากเรื่องสั้นเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นปัญหาของสังคมในปัจจุบัน การเลือกตั้ง ไม่ใช่การแข็งขันว่าใครจะแพ้หรือชนะ แต่เป็นการเลือกคนที่ดีที่สุดหรือคนที่ประชาชนไว้ใจมากที่สุด จากเรื่องสั้นเรื่องนี้บ่งบอกถึงบรรยากาศการเลือกตั้งของคนในสมัยนี้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะแข็งขันว่าใครจะแพ้หรือชนะมากกว่าการพยายามคิดค้นนโยบายในการพัฒนาชุมชนที่ตนอาศัย
สังเกตได้จากปัจจุบัน เมื่อเข้าใกล้ฤดูของการเลือกตั้ง ไม่ใช่มีแค่การหาเสียง แต่มีการขายเสียง ซึ่งทุกคนรู้ดีว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แล้วทำไมล่ะทุกคนจึงยอมทำในสิ่งที่มันผิดกฎหมายได้ล่ะ  ดิฉันคิดว่า เพราะทุกคนที่ทำต่างต้องการอำนาจ แล้วการมีอำนาจมันดีอย่างไร เพราะว่าอำนาจสามารถที่จะกำหนดให้ผู้อื่นเป็นหรือกระทำตามความต้องการของตนเอง แม้ว่าผู้อื่นจะขัดขืนก็ตาม
เนื้อเรื่อง  “ในวันที่วัวชนยังชนอยู่”
ผู้แต่ง  วัชระ  สัจจะสารสิน
           วัวชนสองตัวโรมรันพันตูอย่างเมามันเห็นแต่ไกล  กลุ่มคนแตกฮือวิ่งหลบวุ่นวาย บ้างถลาตกคันนาพาขบขันยิ่ง เสียงโห่ลั่นตามจังหวะกระแทกกระทั้นของแต่ละฝ่าย แม่กับน้องชายหอบสำรับกับข้าวไปร่วมพิธีสงฆ์ที่ศาลาใกล้ๆ ผมกับพ่อไม่สนใจพิธีสงฆ์นัก  ใจจดจ่ออยู่กับวัวชนคู่นั้น เสียงโห่ลั่นขึ้นอีก นักเลงวัวเดินกลับมาใต้โคนไม้  ฝ่ายแพ้ควักเงินให้อย่างรู้งาน ฝ่ายชนะยิ้มกว้างรับเงินแล้วเคาะบุหรี่ยื่นให้  ตะโกนเรียกเด็กขายน้ำอ้อยเหมาแจกคนละขวด

ผมกลับมาบ้านพร้อมพ่อ ส่วนคนอื่นๆแยกย้ายกลับมาก่อนแล้ว  กลุ่มเด็กๆออกไปสาดน้ำบนถนนโดยไม่กลัวแดดระอุ  รถเราผ่านไปผ่านมาไม่ปล่อยให้เล็ดลอดไปได้  ลุงป้าน้าอาต่างสนุกสนาน ยุคสมัยนี้ ความสนุกสนานยังมีให้เห็น แต่วิธีการอาจเปลี่ยนไปบ้าง โดยเฉพาะวิธีการสาดน้ำ  ลุงเสริฐซดเบียร์เย็นๆแล้วเอ่ยขึ้นบ้างว่าการชักพระก็เหมือนกัน  ตอนนี้ไม่มีใครสนใจเข้าร่วมกันแล้ว  และยังกล่าวอีกว่าแต่เดิมหากมีงานเลี้ยง เจ้าภาพมักจ้างวงดนตรีมาเล่นในงาน  แต่เมื่อการมาถึงของคาราโอเกะ ต้องยอมรับว่าคาราโอเกะกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับงานเลี้ยงในปัจจุบันไปแล้ว อาศักดิ์เอ่ยเสียงเบาขึ้นว่า  แม้ประเพณีต่างของบ้านเราแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา  สิ่งหนึ่งที่ยืนยันว่ายังไม่หายไปและทุกคนคงเห็นด้วย  นั่นคือการชนวัวในงานบุญต่างๆนั่นเอง
การวินิจสาร หรือตีความจากผู้อ่าน
กลวิธีการเล่าเรื่อง  :  เป็นการเล่าเรื่องที่ผู้อ่านจะพบว่าผู้เขียนจะหยิบเอาประเพณีสารทเดือนสิบของชาวภาคใต้มาเป็นแกนดำเนินเรื่อง  ให้ตัวละครเป็นตัวเล่าถึงรายละเอียดทั้งหมดที่กำลังจะถูก ลืม”   ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับกีฬาวัวชนที่กำลังจะสูญหายไป  จนเกิดเป็นความถวิลหาสิ่งที่ขาดหายไป
คุณค่าทางจิตใจ
ผู้เขียนยังเล่าออกมาในรูปของอารมณ์ถวิลหาอดีต   ซึ่งผู้อ่านจะพบได้จากเรื่อง ในวันที่วัวชนยังชนอยู่”  ผู้เขียนหยิบเอาประเพณีสารทเดือนสิบอันเป็นประเพณีรวมญาติที่สำคัญของชาวภาคใต้มาเป็นแกนดำเนินเรื่อง  ให้ตัวละครเล่าถึงรายละเอียดขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ที่กำลังจะถูก ลืม”   ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับกีฬาวัวชนซึ่งทำให้ตัวละครดำเนินเรื่องนึกถึงปู่และพ่อ  เป็นการถวิลหาวันเวลาที่เคยประทับอยู่ในความทรงจำ  และไม่อาจเรียกคืนมาได้อีก  เพราะปู่ได้จากไปนานแล้ว
 วิจารณ์และวิพากษ์
นอกจากนี้  ในวันที่วัวชนยังชนอยู่ได้เสนอให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมอันเนื่องมาจากวิทยาการที่ล้ำหน้าขึ้นทุกวัน  อาทิ  คาราโอเกะที่เข้ามาให้ความบันเทิงในงานเลี้ยง  ทำให้         วงดนตรีรับจ้างต่างเลิกกิจการไปหมด  หรือตอนที่พ่อเปิดวีซีดีวัวชนฉายขึ้นจอใหญ่ให้คนในงานเลี้ยงได้ดู  หลายคนต่างก็ทึ่งที่เข้าวีซีดีสามารถบันทึกภาพการชนวัวอย่างคมชัดถึงอารมณ์ 
การดูวัวชนจากวีซีดีแสดงให้เห็นว่ากีฬาพื้นบ้านซึ่งเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่เพียงน้อยนิดที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันก็กำลังจะถูกสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้าไปแทนที่ เพราะต่อจากนี้คนใต้อาจไม่ต้องไปดูวัวชนถึงสนามจริงอีกต่อไป

เสียงวีซีดีวัวชนที่ดังลั่นบ้าน  ทำให้วัวชนจริง ๆ ที่เลี้ยงไว้แหกคอกออกมาขวิดกับวัวชนในจอผ้าใบ  จนใคร ๆ ต่างก็วิ่งหนีกันอย่างอลหม่าน  เหตุการณ์ดังกล่าวอาจไม่ใช่แค่เรื่องที่ผู้เขียนเล่าขึ้นมาเพื่อสร้างสีสันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  หากแต่เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นการปะทะต่อสู้ที่รุนแรงระหว่างวัฒนธรรมพื้นบ้าน (วัวชนตัวจริง)  กับวิทยาการสมัยใหม่ (วัวชนบนจอผ้าใบ)  และผู้เขียนยังเล่นกับความเชื่อ                      เมื่อยกเอา ปู่ซึ่งเป็นตัวละครที่ล่วงลับไปแล้วแต่กลับปรากฏกายให้เห็นเบื้องหลังวัวชนตัวนั้น  นัยหนึ่งก็เพื่อที่จะสื่อให้เห็นว่าบรรพบุรุษก็คงไม่พอใจที่ลูกหลานได้ หลงและ ลืมคุณค่าอันดีงามของวัฒนธรรมดั้งเดิม
สรุป
เรื่องสั้นเรื่องนี้สะท้อนถึงสภาพชีวิตและสังคมในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลง และแน่นอนเมื่อทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้จิตใจของมนุษย์เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย มนุษย์เปลี่ยนไปตามโลกโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว  จากความละเมียดละไมไปสู่ความหยาบกระด้าง  จากคนที่มีน้ำใจไมตรีไปสู่คนเพิกเฉยเย็นชา  จากคนสังคมเรียบง่ายไปสู่สังคมที่ซับซ้อนขึ้น และที่สำคัญมนุษย์ได้ทิ้งวัฒนธรรมที่ตนเคยปฏิบัติกันมาช้านาน เปลี่ยนมาใช้วัฒนธรรมจากชาติอื่น  ในสภาพดังกล่าวมนุษย์จึงตกอยู่ในวังวนแห่งความสับสน  แปลกแยกและหวาดระแวง
การดำรงวัฒนธรรมประเพณีเดิมของตนเป็นสิ่งที่น่ากระทำยิ่ง แต่เมื่อคนเราไม่น้อมรับวัฒนธรรมของตนแล้ว อย่าได้หวังว่าชาติอื่นจะมาสานต่อวัฒนธรรมของเรา ฉะนั้นการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง เมื่อวัฒนธรรมเปลี่ยนจิตใจคนก็เปลี่ยน
สุดท้ายหนังสือรวมเรื่องสั้น  “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง”  จึงเป็นการสะกิดให้ผู้อ่านย้อนกลับไปสู่สาระสำคัญของชีวิตที่หลายคน หลงและ ลืมไป  ดังภาพตัวละครในแต่ละบทตอนที่มีชีวิต                  ที่ไม่สมบูรณ์หรือมากล้นจนเกินพอดี  รวมเรื่องสั้นเรื่องนี้ได้ตั้งคำถามกับ คุณค่าของการมีชีวิตว่าที่แท้มนุษย์ควรยึดมั่นอยู่กับสิ่งใดหรืออย่างไร  และสามารถดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางอุดมการณ์  ความเชื่อ  ค่านิยมที่แตกต่างหลากหลายได้โดยไม่สูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ไป
อ้างอิง
วัชระ  สัจจะสารสิน(2556).  เราหลงลืมอะไรบางอย่าง.  พิมพ์ครั้งที่ 15.  ปทุมธานีนาคร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น